My Friend 412

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

การประกอบคอมพิวเตอร์เดสท๊อป

              สวัสดีครับ พบกันอีกครั้งกับสาระดีๆ ของคอมพิวเตอร์นะครับ วันนี้ผมจะมาจัดสเปคคอมพิวเตอร์เดสท๊อป โดยวันนี้ผมจะจัดสเปคสำหรับคอเกมเมอร์ด้วยราคาประมาณ 29,000 บาทนะครับ ไม่ต้องรอช้าครับ ไปดูกันเลยยยยยย
             
              ก่อนที่ผมจะเลือกอุปกรณ์ต่างๆ เราจะต้องรู้จักกับสเปกต่างๆ ของอุปกรณ์แต่ละชิ้น เพื่อที่จะได้เลือกให้ตรงสเปกกัน จะสามารถประกอบกเข้ากันได้ และจะได้ลดปัญหาการซื้อมาแล้วประกอบเข้ากันไม่ได้แล้วจะได้ไปซื้อใหม่นะครับบ ไปเริ่มกันเลยยครับ
 
              1. เมนบอร์ด
              เป็นสิ่งแรกที่ผมจะเลือก เพราะเราจะได้รู้ว่าอุปกรณ์อื่นๆ ที่เราจะนำมาประกอบนั้น จะใช้อะไรบ้างนะครับ ซ็อกเก็ต สำหรับติดตั้ง ซีพียู สล็อตต่างๆ เช่น  แรม ฮาร์ดดิส ซีดีรอม เป็นต้น และเมนบอร์ดที่ผมเลือก เป็นของ
       -  MIS H97-GAMING 3 นะครับ
       -  Support CPU Socket LGA1150 CPU Support Intel Pentium/Celeron/Core i3,i5,i7
       -  จำนวน Slot แรม 4 ช่อง ชนิดของแรม DDR 3 1600/1333/1066 ความจุสูงสุด 32 GB
       -  มี VGA onboard Intel HD Graphics 4400/4600
       -  Storage Connector มี Port SATA 3 จำนวน 6 Port
       -  Expansion Slots มีรายละเอียดดังนี้ 1 x  PCIe 3.0 x 16 slot ,1 x  PCIe 2.0 x 16 slot ,2 x  PCIe 3.0 x 1 slot   3 x PCI slot
       -  Chipset LAN Killer E2205 ความเร็ว 10/100/1000 Mbps
       -  ราคา 3,730 บาท


http://notebookspec.com/pc-mb/MSI-H97-GAMING-3/485
             
              2. CPU
              ในการเลือก ซีพียูนั้้น เป็นสิ่งสำคัญมากเหมือนกัน สำหรับคอเกมเมอร์อย่างพวกเรานั้นต้องขอโหดๆ ผมเลือกของ INTEL Core i7 -4790 นะครับ มีรายละเอียดดังนี้
       -  Socket LGA 1150 ซิ่งสามารถติดตั้งลงเมนบอร์ดได้ครับ
       -  CPU Core/Thead 4/8
       -  ความเร็ว 3.60 GHz
       -  CPU Bus N/A
       -  ราคา 11,600 บาท


http://notebookspec.com/pc-cpu/INTEL-Core-i7-4790/156

              3. RAM
              ในการเลือกแรม ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ และเลือกที่สามารถติดตั้งลงกับเมนบอร์ดได้ด้วยนะครับ มีความจุสูงยิ่งดี เพราะช่วยในการประมวลผลได้ดีด้วยนะครับ มีรายละเอียดดังนี้
       -  ยี่ห้อ KINGSTON
       -  ชนิดแรม DDR3
       -  ความจุ 8 GB
       -  Bus 1333
       -  CL Timing  9
       -  ราคา 1,230 บาท


http://notebookspec.com/pc-ram/KINGSTON-KINGSTON-DDR3%208GB%201333/74


              4. VGA card
              สำหรับคอเกมเมอร์แล้ว VGA card เป็นสิ่งสำคัญเหมือนกัน เพื่อการแสดงของภาพที่สวยงาม ควมชัดแล้ว ผมเลือก MSI R7 250X ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
       -  Bus Type PCI-ex 3.0 16x สามารถเชื่อมต่อกับเมนบอร์ดได้
       -  Chipset AMD
       -  ความเร็ว GPU 1000 MHz
       -  Shader Clock 5.0
       -  ราคา 3,280 บาท


http://notebookspec.com/pc-vga/MSI-R7-250X/392

              5. HARDDISK
              ในการเลื่อก  HARDDISK นั้นควรเลือกที่มีขนาดความจุ เยอะๆ หน่อยนะครับ เพื่อที่จะได้เก็บข้อมูลได้เยอะๆครับ ผมเลือก TOSHIBA ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ครับ
       -  ความจุ 2 TB
       -  ขนาด 3.5
       -  ความเร็วจานหมุน 7200
       -  ขนาด Buffer 64MB
       -  port เชื่อมต่อ เป็นแบบ SATA 3
       -  ราคา 2,490 บาท


http://notebookspec.com/pc-hdd/Toshiba-Toshiba-2TB/116

              6. POWER SUPPLY
              ในการเลือก POWER SUPPLY ก็สำคัญ เพราะเป็นตัวจ่ายไฟให้กับเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆภายในคอมพิวเตอร์ และเลือกให้สามารถติดตั้งลงเคสได้นะครับ ผมเลือก XFX TS Series ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
       -  ประเภท POWER SUPPLY ATX 12V V2.31
       -  กำลังไฟสูงสุด 500 W
       -  มีพัดลม 1 ตัว
       -  ช่องเชื่อมต่อกับเมนบอร์ด 20+4 Pin
       -  PCI Ez Connector 2 x 6+2 - pin
       -  Sata Connector 8
       -  ราคา 2,100 บาท


http://notebookspec.com/pc-psu/XFX-TS-Series%20550W/223

              7. DVD-RW
              ในการเลือก DVD-RW เราไม่ค่อยเน้นเท่าไร สามารถใช้งานได้ก็พอละครับ ผมเลือก ASUS นะครับ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ครับ
       -  Asus 240D5MT
       -  1.5 MB
       -  ชนิด SATA
       -  Max Speed 24x
       -  ราคา 500 บาท


https://www.jib.co.th/web/index.php/product/readProduct/19816/8/DVD-RW-ASUS-24D5MT-BLK-G-AS-24X--BOX-

               8. เคส
               ในการเลือกเคสต้องให้ตรงกับเมนบอร์ดและพาวเวอร์ซัพพลายนะครับ เพราะเราจะนำอุปกรณ์ทุกอย่างเข้าไปในเคสนะครับ ผมเลือก AERO COOL นะครับ สามารถอัดอุปกรณ์ทุกอย่างที่ผมได้พูดมาข้างต้นได้นะครับ
       -  ราคา 1,090 บาท


   
https://www.jib.co.th/web/index.php/product/readProduct/15832/27/CASE-AEROCOOL-GT-BLACK--GT-BK-

              9. เมาส์ + คีย์บอร์ด
              ในการเลือกเมาส์และคีย์บอร์ดก็เป็นความชอบส่วนบุคคลนะครับบ ผมเลือกของ MD นะครับ
       -   รูปแบบ (เมาส์/คีย์บอร์ด) มีสาย
       -  จำนวนปุ่ม (เมาส์/คีย์บอร์ด)  102/3
       -  ความระเอียดเมาส์  1,000 dpi
       -  พอร์ตเชื่อมต่อ USB
       -  ราคา 299 บาท



              10. จอ Monitor
              ในการเลือกจอสำหรับคอเกมเมอร์ต้องการจอใหญ่ คสชัด ความระเอียดสูง ผมเลือก PHILIPS
ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
       -  Full HD
       -  Resolution 1600x900
       -  Didplay Size Detaill 19.5 Wide Screen
       -  ราคา 2,770 บาท



              นี่ก็เป็นการจัดสเปกคอมพิวเตอร์ สำหรับคอมเกมเมอร์ที่มาคาประหยัด สามารถนำมาใช้ได้จริงนะครับ ถ้าใครสนใจก็ลองนำมาเป็นทางเลือกหนึ่งของท่าน แต่ถ้ามีงบมากว่านี้ท่านอาจอัฟพวก แรม การ์ดจอแยก ให้สูงกว่านี้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเล่นเกมของเรานะครับ ฮ่าๆๆ สำหรับวันนี้พอแค่นี้นะครับ ถ้าผมพูดผิดประการใดก็ขออภัยวะ ณ ที่นี่ด้วยนะครับ 

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559

Review การถอดประกอบคอมพิวเตอร์ ออนเครื่องนอกเคส วัดความต่างศักย์ไฟฟ้า

              สวัสดีเพื่อนๆชาว IT ทุกท่าน วันนี้ผมจะมา Review การถอดประกอบคอมพิวเตอร์ การออนเครื่องนอกเคส การวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าขอวพาวเวอร์ซัพพลาย ก่อนอื่นผมจะถอกอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกจากเคสก่อนนะครับ จากนั้นก็ต่ออุปกรณ์อยู่ข้างนอกเคศนะครับ แล้วทำการเปิดเครื่องนอกเคสเลยนะครับ




              จากนั้นผมก็จะทำการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของตัวพาวเวอร์ซัพพลายต่อเลยนะครับ





              สำหรับการรีวิวนั้นเราจะให้ทุกท่านชมการรีวิวที่ผมได้ทำการรีวิวให้ทุกท่านได้ชมกัน เชิญชมกันได้เลยครับ

VDO อยู่ด้านล่างนะครับ




              ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามารับชมการรีวิวของผมในครั้งนี้ ถ้ากระผมทำผิดประการใด ก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Review ความต่างศักย์ไฟฟ้าของพาวเวอร์ซัพพลาย

              สวัสดีเพื่อนๆ ชาวไอทีทุกท่าน วันนี้ผมจะมาทดสอบการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าของพาวเวอร์ซัพพลายนะครับ ตัวพาวเวอร์ซัพพลายนี้จะเป็นตัวแปลงไฟฟ้าจากไฟ้าฟ้าบ้าน จาก 220 โวลต์ ไปเลี้ยงในส่วนต่างๆ ของเมนบอร์ด หรืออุปกรณ์ต่างๆภายในเคสนะครับ  ถ้าทุกท่านพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลยครับ





              ก่อนอื่นเรามาเตรียมอุปกรณ์กันก่อนนะครับ ว่ามีอะไรบ้าง

1.  ดิจิตอล มัลติมิเตอร์ 



2. อุปกรณ์เคื่องมือช่าง (ไขควง)



3. อุปกรณ์นำไฟ้า ใช้เปิดพาวเวอร์ซัพพลาย (เราใช้แหนบนะครับ)



              ก่อนที่เราจะทำการวัดค่าความต่างศักย์ของพาวเวอร์ซัพพลาย เราจะต้องทำการเปิดตัวพาวเวอร์ซัพพลายก่อนนะครับ ซึ่งการเปิดพาวเวอร์ซัพพลายนั้น ผมได้ริวิวในบล็อกก่อนหน้านี้แล้วนะครับ



              เมื่อเปิดพาวเวอร์ซัพพลายแล้วนะครับ เราก็จะเริ่มทำการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของพาวเวอร์ซัพพลายกันเลยนะครับ โดยในการวัดนั้นให้เราเอาสายสีดำไปจิ้มไว้กับอุปกรณ์ที่เป็นตัวนำไฟฟ้านะครับ 



จากนั้นผมก็เริ่มที่สายสีส้มนะครับ โดยมีไฟมา 3.35 โวลต์ ครับ



สายสีแดง มีไฟประมาณ  5.22 โวลต์



สายสีเหลือง มีไฟประมาณ 12.19 โวลต์





สายสีม่วง มีไฟประมาณ 5.09 โวลต์



สีเทา มีไฟประมาณ 5.19 โวลต์


สีน้ำเงิน มีไฟประมาณ -11.49 โวลต์


สีน้ำตาล มีไฟประมาณ 3.36 โวลต์



              ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าของพาวเวอร์ซัพพลาย กันแล้วนะครับ หากท่านผู้ชมมีข้อสงสัย สามารถดูวิธีการวัดจากวีดีโอได้เลยครับ



              สุดท้าย ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของพาวเวอร์ซัพพลายของผมในครั้งนี้ ถ้ามีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ


วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

REVIEW การเปิดเคื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่มีเคส

              สวัสดีครับเพื่อนๆ ทุกคน วันนี้ ผมไปซ่อมคอมพิวเตอร์เครื่องที่อยู่ในห้องสอสานคอมพิวเตอร์ ในห้องนี้มีทั้งคอมที่ใช้ได้แล้วใช้ไม่ได้ ผมจึงเลือกมาเครื่องหนึ่งนะครับ แลัวเลือกได้ถูกเครื่องมาก ทดสอบเปิดเครื่องดู  อ้าว!!!!! กรรมละ ผมเปิดเครื่องไม่ได้ ผมเลยถอดเคสออกมาดู ปรากฏว่า สายไฟที่ต่อจากเมนบอร์ด ไปยังเคสมันขาด วันนี้ ผมก็เลยมา REVIEW การเปิดเคื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่มีเคส ให้กับเพื่อนๆ ได้ดูกันครับ เพื่อนๆ พร้อมยัง ถ้าพร้อมแล้วไปชมกันเลยคร๊าบบบบ



              ในอันดับแรกให้เพื่อนๆ ไปศึกษาการทำงานคอมพิวเตอร์ ตัวผมเองจึงได้ไปศึกษาหาข้อมูลจากเมนบอร์ดDatacheet Asus p4s333-vm เพื่อที่จะทราบการทำงานของอุปกรณ์ต่างนะครับ


              เมื่อศึกษาข้อมูลเป็นอย่างดีแล้ว เพื่อนๆ พร้อมที่จะถอดอุปกรณ์ที่อยู่ในเคสออกมารึยัง ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มกันเลยครับ!!!! ผมเริ่มถอด ตัวพาวเวอร์ซัพพลายออกก่อนนะครับ



              ถอดเมนบอร์ดออกมาครับ ก่อนจะถอดจะต้องถอดสายต่างๆ ออกให้หมดนะครับ (จำได้ละว่าถอดออกจะตรงไหน 55555) ถ้าจะไม่ได้ดูจาก Datacheet นะครับ



 ฮาร์ดดิส 


แรม 



ฟล็อบปี้ดิส 


ถาดอ่าน CD/DVD



              เมื่อถอดออกมาแล้ว เราจัดการประกอบนอกเคสนะครับ จัการต่อสายเพรต่าง ๆ ให้ถูกนะครับ หวังว่าเพื่อนๆ จะจำได้นะครับบ เมื่อผมประกอบเสร็จ อู้ว!!!! ผมจำได้นะครับเพื่อนๆ



              ต่อสายไฟเตรียมตัวเปิดเครื่องนะครับ



              ในการทดสอบการเปิด - ปิด คอมพิวเตอร์นั้น ผมได้ไปศึกษาจาก Datacheet Asus p4s333-vm ว่าในการเปิดเครื่องนั้น จะต้องทำอย่างไร มาดูกันครับ


              ในการเปิดเครื่องนั้น ให้พื่อนนำไขควง ไปเตะขา 2 ขา ที่จุด ATX Power Switch ครับ ส่วนการรีสตาร์ทเครื่องนั้น ให้เอาไปแตะขา 2 ขา ของ Reset SW ตัวนี้นะครับ ส่วนการปิดเครื่องนั้นให้กดที่ จุด ATX Power Switch โดยการปิดนั้นให้เพื่อนๆ กดแช่ไว้ประมาณ 4 วินาที่นะครับ จากนั้นเครื่องก็จะปิดครับ


              เอาเป็นว่าเสร็จไปแล้วนะครับกับการทดสอบเปิดเครื่องเมื่อผู้ใช้ไม่สามารถเปิดจากตัวเคสไดครับ เป็นวัยครับเพื่อนๆ สนุกกันบ้างมั้ยครับ ส่วนตัวผมนั้น สนุกและตื่นดเต้นมากเลย เพราะการทำครั้งแรกของผม เอาเป็นว่าถ้าผมทำผิดพลาดประการใดก็ขออภัยเพื่อนๆไว้ที่ด้วยนะครับ
ขอบคุณสำหรับการรับชมนะครับ

Review การเปลียนพัดลมพาวเวอร์ซัพพลาย

              สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวไอที่ทุกคน วันนี้เรามีสาระดีๆ มาฝากทุกคนอีกแล้วนะครับ วันนี้ผมไปเช็คคอมพิวเตอร์ในห้องสุสานห้องคอมมา ปรากฎว่า คอมพิวเตอร์ที่ผมนำมาเช็คนั้น พัดลมพาวเวอร์ซัพพลายพัง งานเข้าแล้วครับบพี่น้องง!!!!! ดังนั้น !!!!วันนี้เราจะมาเปลี่ยนพัดลมพาวเวอร์ซัพพลายกัน
มาดูกันเลยครับบบ!!!

              ก่อนอื่นเพื่อนๆ มาดูอุปกรณ์ก่อนว่า อุปกรณ์ที่เราใช้เปลียนพัดลมพาวเวอร์ซัพพลายนั้นมีอะไรบ้าง นี่ก็เป็นอุปกรณของเรานะครับ ได้แก่ 1. หัวแร้ง 2. ตะกั่วบัดกรี  3. พวกอุปกรณ์แกะเครื่อง เช่น ไขควงนะครับบ

              ก่อนอื่นเราแกะเอาพาวเวอร์ซัพพลายออกมาจากเคสก่อนนะครับ โดยเคสที่ผมนำมานี้ มีน๊อตอยู่ 4 ตัวด้วยกัน

              จากนั้นเราแกะฝาของพาวเวอร์ซัพพลายออกก่อนเพื่อที่จะได้ดูว่าเราจะทำอย่างไรต่อไป โดยมีตัวน๊อต 4 ตัวเหมือนกัน



              จากนั้นเราแกะเอาแผงวงจรออกมาจากตัวพาวเวอร์ซัพพลายครับ เพื่อในการเปลี่ยนพัดลมได้สะดวก ไม่เป็นอันตราย และไม่เกิดข้อเสียหายแก่แผงวงจรอีกด้วยครับ โดยมีน๊อตอยู่ 4 ตัวนะครับ



               นี่เป็นหน้าตาของพัดลมพาวเวอร์ซัพพลายของเรานะครับ



              จากนั้น เราจะนำหัวแร้งมา บัดกรีเอาสายไฟออกมา โดยสายไฟเรามีอยู่ 2 เส้นที่เราจะบัดกรีออกนะครับ คือมีสายสีแดง และสีดำ


              จากนั้นเราเรื่มบัดกรีเลยครับ โดยการบัดกรีนั้นเราจะทำอยู่ด้านกลังของแผงวจจร ให้เพื่อนๆ มองดูว่าสายสีดำและสายสีแดงของเรานั้นอยู่ที่ตำแหน่งไหน จากกันก็เริ่มบัดกรีเลยครับบ




               นี่เป็นหน้าตาของพัดลมพาวเวอร์ซัพพลาย เมื่อเราถอดออกมาแล้วววววว!!!!!! อู้ว!!!!!



               จากนั้นผมนำพัดลมตัวใหม่มาเปลี่ยนครับ



              เรามาประกอบตัวพัดลมกับแผงวงจรกันเถอะครับ เวลาเราใส่ให้ใส่ที่ละเส้น โดยใส่สีดำก่อนเพราะมันอยู่ข้างในครับ จากนั้นเราใส่สีแดงต่อครับ เพื่อความปลอดภัยนะครับ เราอย่าให้ตะกั่วของสองเส้นนี้ติดกันนะครับ




               เป็นอันว่าเสร็จในการเปลียนพัดลมนะครับ จากนั้นเรามาทดสอบกันว่า พัดลมของเรานั้นใช้ได้รึปล่าวน้า!!!!! โดยการทดสอบนั้นเราจะใช้ ลวดหรืออุปกรณ์ที่นำไฟฟ้า จี้ที่ Pin 14 และ 15 หรือให้เพื่อนๆ สังเกตุดู จะเป็นสายไฟสีเขียวและสีดำ โดยการนับนั้นจะนับเรียงเป็นแถวนะครับ




               จากนั้นเสียปลั๊กดูจะเห็นได้ว่าพัดลมของเราหมุน แสดงว่าใช้งานได้ครับ


             จากนั้นเราประกอบกลับที่เดิมครับเป็นอันว่าการเปลี่ยนพัดลมพาวเวอร์ซัพพลายประสบผลสำเร็จครับ พัดลมสามารถทำงานได้ปกติ ผมจึงประกอบเข้าที่เดิม คอมพิวเตอร์ของผมพร้อมใช้งานคร๊าบบบบ


            สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม การเปลียนพัดลมพาวเวอร์ซพพลายในครับนี้
ถ้ากระผมพูดอะไรผิดไปก็ขออะภัยมานะที่นี้ด้วยนะครับ ขอบคุณคร๊าบบบบ!!!!!