My Friend 412

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Review ความต่างศักย์ไฟฟ้าของพาวเวอร์ซัพพลาย

              สวัสดีเพื่อนๆ ชาวไอทีทุกท่าน วันนี้ผมจะมาทดสอบการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าของพาวเวอร์ซัพพลายนะครับ ตัวพาวเวอร์ซัพพลายนี้จะเป็นตัวแปลงไฟฟ้าจากไฟ้าฟ้าบ้าน จาก 220 โวลต์ ไปเลี้ยงในส่วนต่างๆ ของเมนบอร์ด หรืออุปกรณ์ต่างๆภายในเคสนะครับ  ถ้าทุกท่านพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลยครับ





              ก่อนอื่นเรามาเตรียมอุปกรณ์กันก่อนนะครับ ว่ามีอะไรบ้าง

1.  ดิจิตอล มัลติมิเตอร์ 



2. อุปกรณ์เคื่องมือช่าง (ไขควง)



3. อุปกรณ์นำไฟ้า ใช้เปิดพาวเวอร์ซัพพลาย (เราใช้แหนบนะครับ)



              ก่อนที่เราจะทำการวัดค่าความต่างศักย์ของพาวเวอร์ซัพพลาย เราจะต้องทำการเปิดตัวพาวเวอร์ซัพพลายก่อนนะครับ ซึ่งการเปิดพาวเวอร์ซัพพลายนั้น ผมได้ริวิวในบล็อกก่อนหน้านี้แล้วนะครับ



              เมื่อเปิดพาวเวอร์ซัพพลายแล้วนะครับ เราก็จะเริ่มทำการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของพาวเวอร์ซัพพลายกันเลยนะครับ โดยในการวัดนั้นให้เราเอาสายสีดำไปจิ้มไว้กับอุปกรณ์ที่เป็นตัวนำไฟฟ้านะครับ 



จากนั้นผมก็เริ่มที่สายสีส้มนะครับ โดยมีไฟมา 3.35 โวลต์ ครับ



สายสีแดง มีไฟประมาณ  5.22 โวลต์



สายสีเหลือง มีไฟประมาณ 12.19 โวลต์





สายสีม่วง มีไฟประมาณ 5.09 โวลต์



สีเทา มีไฟประมาณ 5.19 โวลต์


สีน้ำเงิน มีไฟประมาณ -11.49 โวลต์


สีน้ำตาล มีไฟประมาณ 3.36 โวลต์



              ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าของพาวเวอร์ซัพพลาย กันแล้วนะครับ หากท่านผู้ชมมีข้อสงสัย สามารถดูวิธีการวัดจากวีดีโอได้เลยครับ



              สุดท้าย ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของพาวเวอร์ซัพพลายของผมในครั้งนี้ ถ้ามีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ


วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

REVIEW การเปิดเคื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่มีเคส

              สวัสดีครับเพื่อนๆ ทุกคน วันนี้ ผมไปซ่อมคอมพิวเตอร์เครื่องที่อยู่ในห้องสอสานคอมพิวเตอร์ ในห้องนี้มีทั้งคอมที่ใช้ได้แล้วใช้ไม่ได้ ผมจึงเลือกมาเครื่องหนึ่งนะครับ แลัวเลือกได้ถูกเครื่องมาก ทดสอบเปิดเครื่องดู  อ้าว!!!!! กรรมละ ผมเปิดเครื่องไม่ได้ ผมเลยถอดเคสออกมาดู ปรากฏว่า สายไฟที่ต่อจากเมนบอร์ด ไปยังเคสมันขาด วันนี้ ผมก็เลยมา REVIEW การเปิดเคื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่มีเคส ให้กับเพื่อนๆ ได้ดูกันครับ เพื่อนๆ พร้อมยัง ถ้าพร้อมแล้วไปชมกันเลยคร๊าบบบบ



              ในอันดับแรกให้เพื่อนๆ ไปศึกษาการทำงานคอมพิวเตอร์ ตัวผมเองจึงได้ไปศึกษาหาข้อมูลจากเมนบอร์ดDatacheet Asus p4s333-vm เพื่อที่จะทราบการทำงานของอุปกรณ์ต่างนะครับ


              เมื่อศึกษาข้อมูลเป็นอย่างดีแล้ว เพื่อนๆ พร้อมที่จะถอดอุปกรณ์ที่อยู่ในเคสออกมารึยัง ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มกันเลยครับ!!!! ผมเริ่มถอด ตัวพาวเวอร์ซัพพลายออกก่อนนะครับ



              ถอดเมนบอร์ดออกมาครับ ก่อนจะถอดจะต้องถอดสายต่างๆ ออกให้หมดนะครับ (จำได้ละว่าถอดออกจะตรงไหน 55555) ถ้าจะไม่ได้ดูจาก Datacheet นะครับ



 ฮาร์ดดิส 


แรม 



ฟล็อบปี้ดิส 


ถาดอ่าน CD/DVD



              เมื่อถอดออกมาแล้ว เราจัดการประกอบนอกเคสนะครับ จัการต่อสายเพรต่าง ๆ ให้ถูกนะครับ หวังว่าเพื่อนๆ จะจำได้นะครับบ เมื่อผมประกอบเสร็จ อู้ว!!!! ผมจำได้นะครับเพื่อนๆ



              ต่อสายไฟเตรียมตัวเปิดเครื่องนะครับ



              ในการทดสอบการเปิด - ปิด คอมพิวเตอร์นั้น ผมได้ไปศึกษาจาก Datacheet Asus p4s333-vm ว่าในการเปิดเครื่องนั้น จะต้องทำอย่างไร มาดูกันครับ


              ในการเปิดเครื่องนั้น ให้พื่อนนำไขควง ไปเตะขา 2 ขา ที่จุด ATX Power Switch ครับ ส่วนการรีสตาร์ทเครื่องนั้น ให้เอาไปแตะขา 2 ขา ของ Reset SW ตัวนี้นะครับ ส่วนการปิดเครื่องนั้นให้กดที่ จุด ATX Power Switch โดยการปิดนั้นให้เพื่อนๆ กดแช่ไว้ประมาณ 4 วินาที่นะครับ จากนั้นเครื่องก็จะปิดครับ


              เอาเป็นว่าเสร็จไปแล้วนะครับกับการทดสอบเปิดเครื่องเมื่อผู้ใช้ไม่สามารถเปิดจากตัวเคสไดครับ เป็นวัยครับเพื่อนๆ สนุกกันบ้างมั้ยครับ ส่วนตัวผมนั้น สนุกและตื่นดเต้นมากเลย เพราะการทำครั้งแรกของผม เอาเป็นว่าถ้าผมทำผิดพลาดประการใดก็ขออภัยเพื่อนๆไว้ที่ด้วยนะครับ
ขอบคุณสำหรับการรับชมนะครับ

Review การเปลียนพัดลมพาวเวอร์ซัพพลาย

              สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวไอที่ทุกคน วันนี้เรามีสาระดีๆ มาฝากทุกคนอีกแล้วนะครับ วันนี้ผมไปเช็คคอมพิวเตอร์ในห้องสุสานห้องคอมมา ปรากฎว่า คอมพิวเตอร์ที่ผมนำมาเช็คนั้น พัดลมพาวเวอร์ซัพพลายพัง งานเข้าแล้วครับบพี่น้องง!!!!! ดังนั้น !!!!วันนี้เราจะมาเปลี่ยนพัดลมพาวเวอร์ซัพพลายกัน
มาดูกันเลยครับบบ!!!

              ก่อนอื่นเพื่อนๆ มาดูอุปกรณ์ก่อนว่า อุปกรณ์ที่เราใช้เปลียนพัดลมพาวเวอร์ซัพพลายนั้นมีอะไรบ้าง นี่ก็เป็นอุปกรณของเรานะครับ ได้แก่ 1. หัวแร้ง 2. ตะกั่วบัดกรี  3. พวกอุปกรณ์แกะเครื่อง เช่น ไขควงนะครับบ

              ก่อนอื่นเราแกะเอาพาวเวอร์ซัพพลายออกมาจากเคสก่อนนะครับ โดยเคสที่ผมนำมานี้ มีน๊อตอยู่ 4 ตัวด้วยกัน

              จากนั้นเราแกะฝาของพาวเวอร์ซัพพลายออกก่อนเพื่อที่จะได้ดูว่าเราจะทำอย่างไรต่อไป โดยมีตัวน๊อต 4 ตัวเหมือนกัน



              จากนั้นเราแกะเอาแผงวงจรออกมาจากตัวพาวเวอร์ซัพพลายครับ เพื่อในการเปลี่ยนพัดลมได้สะดวก ไม่เป็นอันตราย และไม่เกิดข้อเสียหายแก่แผงวงจรอีกด้วยครับ โดยมีน๊อตอยู่ 4 ตัวนะครับ



               นี่เป็นหน้าตาของพัดลมพาวเวอร์ซัพพลายของเรานะครับ



              จากนั้น เราจะนำหัวแร้งมา บัดกรีเอาสายไฟออกมา โดยสายไฟเรามีอยู่ 2 เส้นที่เราจะบัดกรีออกนะครับ คือมีสายสีแดง และสีดำ


              จากนั้นเราเรื่มบัดกรีเลยครับ โดยการบัดกรีนั้นเราจะทำอยู่ด้านกลังของแผงวจจร ให้เพื่อนๆ มองดูว่าสายสีดำและสายสีแดงของเรานั้นอยู่ที่ตำแหน่งไหน จากกันก็เริ่มบัดกรีเลยครับบ




               นี่เป็นหน้าตาของพัดลมพาวเวอร์ซัพพลาย เมื่อเราถอดออกมาแล้วววววว!!!!!! อู้ว!!!!!



               จากนั้นผมนำพัดลมตัวใหม่มาเปลี่ยนครับ



              เรามาประกอบตัวพัดลมกับแผงวงจรกันเถอะครับ เวลาเราใส่ให้ใส่ที่ละเส้น โดยใส่สีดำก่อนเพราะมันอยู่ข้างในครับ จากนั้นเราใส่สีแดงต่อครับ เพื่อความปลอดภัยนะครับ เราอย่าให้ตะกั่วของสองเส้นนี้ติดกันนะครับ




               เป็นอันว่าเสร็จในการเปลียนพัดลมนะครับ จากนั้นเรามาทดสอบกันว่า พัดลมของเรานั้นใช้ได้รึปล่าวน้า!!!!! โดยการทดสอบนั้นเราจะใช้ ลวดหรืออุปกรณ์ที่นำไฟฟ้า จี้ที่ Pin 14 และ 15 หรือให้เพื่อนๆ สังเกตุดู จะเป็นสายไฟสีเขียวและสีดำ โดยการนับนั้นจะนับเรียงเป็นแถวนะครับ




               จากนั้นเสียปลั๊กดูจะเห็นได้ว่าพัดลมของเราหมุน แสดงว่าใช้งานได้ครับ


             จากนั้นเราประกอบกลับที่เดิมครับเป็นอันว่าการเปลี่ยนพัดลมพาวเวอร์ซัพพลายประสบผลสำเร็จครับ พัดลมสามารถทำงานได้ปกติ ผมจึงประกอบเข้าที่เดิม คอมพิวเตอร์ของผมพร้อมใช้งานคร๊าบบบบ


            สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม การเปลียนพัดลมพาวเวอร์ซพพลายในครับนี้
ถ้ากระผมพูดอะไรผิดไปก็ขออะภัยมานะที่นี้ด้วยนะครับ ขอบคุณคร๊าบบบบ!!!!!